2013-10-11 20:11:34THOKCHAS

菩多佛教文物2館-神幕巴甘省沙拉悶帕巴鍊中國城隍廟象神泰文介紹

 



神幕巴甘省沙拉悶帕巴鍊中國城隍廟1.jpg






神幕巴甘省沙拉悶帕巴鍊中國城隍廟10.jpg






神幕巴甘省沙拉悶帕巴鍊中國城隍廟11.jpg






神幕巴甘省沙拉悶帕巴鍊中國城隍廟12.jpg






神幕巴甘省沙拉悶帕巴鍊中國城隍廟13.jpg






神幕巴甘省沙拉悶帕巴鍊中國城隍廟14.jpg






神幕巴甘省沙拉悶帕巴鍊中國城隍廟2.jpg






神幕巴甘省沙拉悶帕巴鍊中國城隍廟3.jpg






神幕巴甘省沙拉悶帕巴鍊中國城隍廟4.jpg






神幕巴甘省沙拉悶帕巴鍊中國城隍廟5.jpg






神幕巴甘省沙拉悶帕巴鍊中國城隍廟6.jpg






神幕巴甘省沙拉悶帕巴鍊中國城隍廟7.jpg






神幕巴甘省沙拉悶帕巴鍊中國城隍廟8.jpg






神幕巴甘省沙拉悶帕巴鍊中國城隍廟9.jpg





神幕巴甘省沙拉悶帕巴鍊中國城隍廟象神泰文介紹 

ประวัติความเป็นมา

 

ศาล หลักเมืองของอำเภอพระประแดง  มีขึ้นตั้งแต่ครั้งที่  พระบาทสมเด็จ   พระพุทธเลิศหล้านภาลัย  โปรดเกล้าให้สร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ ในปี  พ.ศ. 2358 โดยสร้างเป็นศาลประจำเมือง  พร้อมทั้งกระทำพิธีฝังอาถรรพ์เสาหลักเมือง  เมื่อวันศุกร์  เดือน  7 แรม  10 ค่ำ ปีกุล  พ.ศ. 2358  นั่นเอง

     ปัจจุบันศาลประจำเมือง หรือศาลหลักเมืองนี้  อยู่ติดกับที่ว่าการอำเภอ พระประแดง   ภายในมีรูปหล่อพระพิฆเนศร์  เป็นที่สักการะของประชาชนทั่วไป  คนจีนได้เข้ามาดูแลศาลหลักเมืองแห่งนี้เมื่อใดไม่ปรากฏ  ดังนั้น สภาพสิ่งก่อสร้างและบรรยากาศของศาลหลักเมืองจึงเป็นแบบจีน  จนแทบไม่เหลือเค้าเดิม


สิ่งที่น่าสนใจศึกษาและเรียนรู้


     ตามโบราณราชประเพณี  ในการสร้างเมืองมักจะมีการสร้างศาลหลักเมืองไว้เป็นศาลกลางของบ้านเมือง  ดังนั้นศาลหลักเมืองจะถือเป็นศูนย์กลางทางจิตใจของบ้านของเมือง  ซึ่งเมืองที่จะมีศาลหลักเมือง  มักจะเป็นเมืองที่มีอายุเก่าแก่ และจัดตั้งตามโบราณราชประเพณี  ดังนั้นศาลหลักเมืองของเมืองนครเขื่อนขันธ์ หรืออำเภอพระประแดง  จึงสะท้อนให้เห็นว่าเมืองนี้  เป็นเมืองที่เก่าแก่  และได้จัดตั้งตามโบราณราชประเพณี



สถานที่ตั้ง


     เทศบาลเมืองพระประแดง  ต.ตลาด  อ.พระประแดง  จ.สมุทรปราการ

 

ขออนุญาตินำข้อมูลที่เคยเรียบเรียงไว้ เมื่อครั้งเทศกาลคเณศจตุรถี พ.ศ.๒๕๕๒ มาช่วยเสริมครับ

****************************

ศาลพระคเณศ (เจ้าพ่อหลักเมือง) พระประแดง

.
.
.
ศาล พระคเณศ หรือเจ้าพ่อหลักเมืองพระประแดง ตั้งอยู่ที่เทศบาลเมืองพระประแดง  ต.ตลาด  อ.พระประแดง  จ.สมุทรปราการ มีหลักฐานปรากฏว่าสร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ประมาณปี พ.ศ. ๒๓๕๘ โดยสร้างเป็นศาลประจำเมือง  และได้ประกอบพิธีฝังอาถรรพ์เสาหลักเมือง  เมื่อวันศุกร์  เดือน  ๗ แรม  ๑๐ ค่ำ  ปีกุน  พ.ศ. ๒๓๕๘  นับว่าเป็นพระคเณศองค์เดียวที่มีฐานะเป็นหลักบ้านใจเมืองด้วย
.
.
.
(บุษบกที่ประดิษฐานพระคเณศหรือเจ้าพ่อหลักเมืองของชาวพระประแดง)
.
.
.
ลักษณะ ของศาลในปัจุบัน (เนื่องจากศาลแห่งนี้มีการปรับปรุงและบูรณะหลายครั้ง) มีการผสมผสานศิลปะหลายวัฒนธรรม ทั้งไทย จีน และมอญ ที่สะท้อนให้เห็นจากลวดลายและสิ่งของที่ประดับตกแต่งศาล แต่ถ้าท่านที่เคยไปจะเห็นว่า ศาลแห่งนี้จะมีลักษณะที่ค่อนไปทางศาลเจ้าของจีน เพราะปัจจุบันผู้ดูแลศาลแห่งนี้เป็นชาวไทยเชื้อสายจีนนั่นเอง
.
.
.
(เทวรูปพระคเณศประจำศาลหลักเมืองพระประแดง)
.
.
.
พระ คเณศประจำศาลหลักเมืองพระประแดงองค์นี้ ประดิษฐานอยู่ภายในบุษบกแบบไทย มีลักษณะเป็นพระคเณศศิลา มีสี่พระกร พระกรขวาบนถือตรีศูล  พระกรซ้ายบนถือปาศะ (บ่วงบาศ) พระกรขวาล่างถืองา และพระกรซ้ายล่างถือถ้วยขนม  ประทับนั่งบนฐานบัวหงาย  โดยพระคเณศองค์นี้งดงามด้วยความเรียบง่าย เนื่องจากที่องค์เทวรูปแทบจะไม่มีลวดลายเครื่องประดับใดๆ แม้กระทั่งเครื่องศิราภรณ์.
.
.
(ความเรียบง่ายแต่แฝงด้วยความงามและน่าเกรงขาม)
.
.
.
ศาล เจ้าพ่อหลักเมืองพระประแดง ได้รับยกย่องให้เป็นศาลพระคเณศที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย และหลายท่านอาจสงสัยว่า ทำไมพระคเณศองค์ดังกล่าวจึงมีฐานะและได้รับการนับถือให้เป็นเจ้าพ่อหลัก เมือง ทั้งๆทีเวลาที่เราไปศาลแห่งนี้ จึงไม่เห็นเสาหลักเมืองเหมือนกับศาลหลักเมืองแห่งอื่นๆ เรื่องนี้ในความเป็นจริงแล้วองค์พระคเณศที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นส่วนหนึ่งของเสาหลักเมือง โดยตัวเสาจริงๆนั้นอยู่ลึกลงไปทางด้านล่างของศาล มีลักษณะเป็นเสาก่ออิฐถือปูนทรงสี่เหลี่มจตุรัส และทาด้วยสีแดง จึงอาจอนุมานได้ว่า พระคเณศองค์นี้ก็คือส่วนหนึ่งของเสาหลักเมืองพระประแดงนั่นเอง ซึ่งน้อยคนจะมีโอกาสได้ลงไปถึงด้านล่างอันเป็นที่ประดิษฐานเสาหลักเมืองของ พระประแดงจริงๆ
.
.
.
(เสาหลักเมืองพระประแดงที่อยู่ลึกลงไปด้านล่างของศาลแห่งนี้)
.
.
.
พระ คเณศแห่งศาลเจ้าพ่อหลักเมืองพระประแดง ถือเป็นศูนย์รวมศรัทธาของทั้งชาวพระประแดงและผู้คนที่เคารพศรัทธาในองค์พระ คเณศ แม้ปัจจุบันตัวศาลจะตั้งอยู่ลึกเข้าไปในตลาดพระประแดง แต่ก็มีผู้ศรัทธาเดินทางไปสักการะอย่างไม่ขาดสาย แม้เวลาจะล่วงเลยมาหลายร้อยปีแล้วก็ตาม ศาลแห่งนี้ก็ยังคงเป็นทั้งหลักบ้านใจเมือง และเป็นหลักทางจิตวิญญาณของชาวพระประแดงอย่างไม่มีเสื่อมคลาย

 

 

การเดินทางมายังศาลเจ้าพ่อหลักเมืองพระประแดง

การ เดินทางไปยังศาลเจ้าพ่อหลักเมืองพระประแดง (จุดสังเกตที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณตลาดพระประแดงติดกับที่ว่าการอำเภอ พระประแดง) มีรถโดยสารประจำทางที่ผ่าน ได้แก่ สาย สาย ๖, สาย ๘๒, สาย ๕๐๖, ปอ.๑๓๘, ปอ.๑๔๐  ไปลงตลาดพระประแดง แล้วเดินเข้าไปในตลาดประมาณไม่เกินร้อยเมตรก็จะเห็นตัวศาลอยู่ทางด้านซ้าย มือ (ที่ทางเข้าตลาดจะมีป้ายบอกชื่อศาลเจ้าพ่อหลักเมืองพระประแดงอยู่ครับ) หากไปไม่ถูกจริงๆ เมื่อลงรถที่หน้าตลาดแล้วให้ถามทางพ่อค้าแม่ค้าแถวนั้นก็ได้ว่าจะมาที่ศาล เจ้าพ่อหลักเมืองได้อย่างไรครับ
.
(หมายเหตุ : แผนที่นี้ให้ดูเฉพาะสถานที่ตั้งนะครับ  อย่าไปยึดตามลูกศรที่ปรากฏในแผนที่
เพราะเดิมแผนที่นี้เป็นแผนที่การเดินทางไปยังสถานที่อื่น
ฉะนั้นขอให้เพื่อนๆพี่ๆดูเฉพาะสถานที่ตั้งของตลาดพระประแดงก็พอครับ)
.
จุดสังเกตทางเข้าตลาดพระประแดงที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
.

ศาลนี้เป็นศาลหลักเมืองครับ ตั้งอยู่ติดกับที่ว่าการอำเภอ พระประแดง จังหวัด สมุทรปราการ
เดิมทีแถบนี้เรียกว่า นครเขื่อนขันธ์ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ( รัชกาลที่ ๑ ) พระองค์ท่าน
มีพระราชประสงค์ที่จะสร้างเมืองไว้ป้องกันข้าศึกทางทะเล ( ในสมัยนั้นเกรงว่าญวนจะยกทัพมาทาง
ทะเล เพราะตอนที่ ร.๑ ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ได้ไม่นานก็มี องค์เชียงสือ ซึ่งเป็นหลานกษัตริย์
ญวน ได้หนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสัมภารอยู่นาน แต่แล้วได้หนีกลับโดยที่มิได้บอกกล่าว ด้วยการล่องเรือ
ออกทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา )


การสร้างเมืองนั้นยังไม่ทันเสร็จ เพียงแต่สร้างป้อมปราการเท่านั้นพระองค์ก็มาสวรรคตเสียก่อน
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ( รัชกาลที่ ๒ ) จึงโปรดให้ พระอนุชาธิราช-

กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ไปสร้างเมืองต่อโดยตัดเอาท้องที่แขวงกรุงเทพฯบ้าง ท้องที่แขวง
สมุทรปราการบ้าง รวมกันตั้งขึ้นเป็นเมืองใหม่แล้วพระราชทานชื่อว่า "เมืองนครเขื่อนขันธ์" โปรดให้
ย้ายครัวชาวมอญจากเมืองปทุมธานีบางส่วนมาอยู่ ณ.เมืองนี้ ซึ่งก็มีพระยาเจ่ง(ช้าง)เป็นหัวหน้า
ชาวมอญของพระยาเจ่งนี้มีประมาณ 300 คนเองครับ

คิดดูแล้วตอนนั้นเมืองคงไม่ใหญ่เท่าไหร่ บุตรหลานพระยาเจ่งซึ่งเป็น ต้นตระกูลคชเสนี ได้เป็นเจ้าเมือง

นครเขื่อนขันธ์มาถึงเก้าคน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนชื่อ
นครเขื่อนขันธ์ เป็นจังหวัดพระประแดง ในพระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ 2 พระนิพนธ์ของ กรมพระยา-
ดำรงราชานุภาพกล่าวไว้ว่า "การสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์สำเร็จ ได้ตั้งพิธีฝัง อาถรรพ์ปักหลักเมือง ณ
วันศุกร์ เดือน 7 แรม 10 ปีกุน สัปตศก จุลศักราช 1177 พ.ศ.2385 ฯลฯ"

ข้อมูลพวกนี้ผมดูมาจากเวปของจังหวัดสมุทรปราการน่ะครับ แต่ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐบอกว่า พ.ศ.2358

ก็เลยไม่รู้ปีไหนกันแน่ องค์พระพิคเณศนี้ จะมีการสรงน้ำพระราชทาน ทุกปีครับ จะขอนำรูปพิธีคเณศจตุรถี
ที่ผมถ่ายไว้เมื่อปี 51 มาให้ชมกันครับ

พิธีบวงสรวงกลางแจ้ง 

 
เจ้าพิธีคือ พระครูสุริยาเทเวศร์ จาก สำนักพราหมณ์พระราชครูในสำนักพระราชวัง 

 
พิธีบวงสรวงด้านในศาล 

 
พระสังข์ที่เตรียมไว้สรงน้ำองค์พระพิคเณศ (เรียงเป็นคำว่า โอม และ รูปสวัสดิกะ ) 

 
องค์ท่านหลังจากที่ช่วยกัน นำเครื่องบูชาออกแล้ว 

 
สรงน้ำครับ (เป็นคนละพิธีกับการสรงน้ำพระราชทาน) 

 
ผูกสายยัญโญปวีต

http://i212.photobucket.com/albums/cc4/tewadhol/6-1.jpg
อารตีไฟ 

 
เสร็จพิธี โปรยดอกไม้
1001101